เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ. ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำ
แล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ตูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่าอภิภายตนะ 6.
จบ ปริหานสูตรที่ 3

อรรถกถาปริหานสูตรที่ 3


ในปริหานธรรมสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริหานธมฺมํ ได้แก่ มีความเสื่อมไปเป็นสภาพ. บทว่า
อภิภายตนานิ ได้แก่ อายตนะอันอบรมยิ่งแล้ว. ในบทว่า สรสงฺกปฺปา
นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ . ชื่อว่า สรา เพราะ ซ่านไป อธิบายว่า แล่นไป.
ความดำริเหล่านั้นด้วย ซ่านไปด้วย ชื่อ สรสังกัปปา. บทว่า สญฺโญ-
ชนิยา
ได้แก่ อกุศลธรรมอันเป็นเครื่องผูก คือ เป็นปัจจัยแก่การผูกสัตว์
ไว้ในภพ. บทว่า ตญฺเจ ภิกฺขุ ได้แก่ ข้อนั้น คือ กิเลสชาตที่เกิดขึ้น
อย่างนี้ หรือได้แก่อารมณ์นั้น. บทว่า อธิวาเสสิ ได้แก่ ยกอารมณ์มา
ให้อยู่ในจิต. บทว่า นปฺปชหติ ได้แก่ ย่อมไม่ละ ด้วยการละฉันทราคะ
พึงประกอบกับบททั้งปวงอย่างนี้. บทว่า อภิภายตนํ นเหติ วุตฺตํ
ภควตา
นี้ตรัสว่า อภิภายตนะนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอบรมยิ่ง
แล้ว. ในที่นี่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงถามจำแนกธรรม จึงทรงแสดง
ถึงธรรมโดยปุคคลาธิษฐาน.
จบ อรรถกถาปริหานธรรมสูตรที่ 3

4. ปมาทวิหารีสูตร


ว่าด้วยผู้อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท


[ 143 ] กรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท และภิกษุผู้อยู่ด้วย
ความไม่ประมาท เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไป
ในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี
เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี
ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบาก ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิต
ไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุ
ไม่สำรวมชิวหินทรีย์ จิตย่อมแส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เมื่อ
ภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความ
ประมาทแท้จริง ฯลฯ ภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปใน
ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์
ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี
เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบากย่อมไม่
ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลาย
ไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทด้วยประการฉะนี้.